ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9
วันพุธ ที่ 18 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 - 15.30 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

              ในวันนี้อาจารย์ได้สรุปการส่งงาน และได้มอบหมายงานเพื่อเป็นคะแนนสอบปลายภาค ประกอบไปด้วย งานเดี่ยว 2 งาน งานกลุ่ม 1 งาน ซึ่งงานนี้คือ เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย และกำหนดการส่งงานต่างๆ รวมไปถึงการจัดแสดงสื่อในวันที่ 15 พฤศจิกายนอีกด้วย




การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การแกะตัวปั้มจากยางลบ"
วันอาทิตย์ ที่ 22 พฤศจิกายน 2558



            ในวันนี้พี่วิทยากรน่ารักและใจดีมากค่ะ สอนเข้าใจง่ายและเป็นกันเอง โดยเริ่มจากการแกะลายง่ายๆ ก่อน อันดับแรกเลย คือ ลอกลายที่เราต้องการจะแกะยางลบก่อน โดยจะมีกระดาษลอกลายเป็นตัวลอกลาย


จากนั้นก็ปั้มลายที่จะแกลงบนยางลบ

แล้วแกะตามรูปจากนั้นก็กรีดรอบนอกของรูปให้เป็นร่องลงไป

และเก็บรายละเอียดรอบๆ ตัวปั้มให้เรียบร้อยก็จะได้ตัวปั้มน่ารักๆแล้ว


ภาพบรรยากาศ









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน และสามารถทำเป็นงานอดิเรก หรือเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย 

การประเมิน
ประเมินตนเอง
         ตั้งใจทำกิจกรรมทุกๆ กิจกรรมและนำความรู้ที่ได้นั้นมาปฏิบัติอย่างมีประโยชน์

ประเมินเพื่อน
         เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมและผลงานก็ออกมาดี

ประเมินผู้สอน
         พี่วิทยากรน่้ารักและเป็นกันเอง ทำให้เราไม่เครียดและสามารถถ่ายทอดความรู้ได้เยอะ ดีมากๆเลยค่ะ














วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558





บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา 12:30 - 15:30 น.


         กิจกรรมการเรียนการสอน          


            ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมวัสดุเหลือใช้มาตามที่เรา

ออกแบบมา เพื่อนำมาประดิษฐ์สื่อการสอนเพื่อเสริมประสบการณ์ให้

กับเด็กปฐมวัย สำหรับสื่อการสอนที่ดิฉันได้ประดิษฐ์ขึ้นนั้นคือ 

สื่อสัตว์สร้างสรรค์  (ซึ่งดิฉันได้ทำรูปหมีแพนด้า)





1. ชื่อสื่อ : สัตว์หรรษา

2. สื่อชนิดนี้ใช้สอนเรื่อง : ใช้สอนเรื่องรูปร่างของสัตว์ต่างๆ หรือใช้

เป็นการสอนด้านรูปร่างเรขาคณิตที่นำมาต่อกันเป็นรูป สอนด้านศิลปะ

ที่ทำให้เด็กได้แสดงจินตนาการของตนเอง และถ้าเราประดิษฐ์สัตว์

หลายๆ ชนิดมารวมกัน ยังจะสามารถเสริมประสบการณ์ของเด็กใน

เรื่องของสัตว์ต่างๆ อีกด้วย รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ในด้านการเล่า

นิทาน สามารถนำไปเป็นตัวละครในนิทานได้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ 

สื่อนี้เป็นสื่ออย่างง่ายสามารถให้เด็กได้มีส่วนร่วมโดยการประดิษฐ์สื่อ

จากแกนกระดาษทิชชู่ตามจินตนาการของเด็กๆ

3. สื่อทำมาจากอะไร : ทำจากแกนกระดาษทิชชู่ และกระดาษแข็ง

4. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในด้าน :

ร่างกาย - ช่วยให้เด็กได้หยิบจับประดิษฐ์สื่อ ทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

ได้พัฒนาความแข็งแรง

อารมณ์ - เด็กได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน

สังคม - ได้ช่วยกันระดมความคิด ทำงานกันเป็นกลุ่มแบ่งปันสิ่งของให้

เพื่อน

สติปัญญา - ได้ใช้ความคิด จินตนาการต่างๆ ตามประสบการณ์เดิม

หรือความรู้ใหม่ๆ ที่เด็กจะได้รับ

        และสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำเสนอสื่อการสอนของ

ตนเองทีละคน และอาจารย์ได้ให้คำติชมว่าสื่อแต่ละชิ้นมีข้อดีข้อเสีย

อย่างไร เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับใช้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

               ได้ฝึกทักษะ กระบวนการในการทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้

อย่างง่าย สามารถนำไปประดิษฐ์เพื่อเป็นสื่อการสอนให้กับเด็กได้

ตามความคิดและจินตนาการของเรา และยังสามารถใช้เป็นกิจกรรม

ที่ให้เด็กทำได้ด้วย


การประเมิน

ประเมินตนเอง

           เตรียมวัสดุการทำมาพร้อมและศึกษาวิธีการทำสื่อมาก่อน และ

ตั้งใจทำสื่อของตนเองอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

           เพื่อนๆ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อของตนเองมาพร้อม

และมีความตั้งใจทำสื่อเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

           อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาพร้อมและได้สอนเรื่อง

สื่อสอดแทรกไปในการนำเสนอสื่อของนักศึกษาอีกด้วย อาจารย์ตั้งใจ

สอนมากๆ